วันเดอร์แลนด์ ซูแวนเจอร์ – Bug A Boo Dome

วันเดอร์แลนด์ ซูแวนเจอร์ – Bug A Boo Dome

Bug A Boo Dome ตื่นตาตื่นใจ ผจญภัยในโดมแมลงพร้อมเรียนรู้วงจรชีวิตของผีเสื้อและแมลงนานาพันธุ์


ผีเสื้อถุงทอง
The Golden Birdwing
(Troides aeacus)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างทรงกลมสีเหลืองอมส้ม ระยะไข่ 5-7วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อนสลับลายสีดำมีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดทแยงด้านข้างของปล้องท้อง หนอนวัย แก่มีสีน้ำตาลอ่อนอมส้มมีลวดลาย บนลำตัวมีรยางค์ยื่นยาวคล้ายกับขนหรือหนาม พืชอาหารคือ ต้นกระเช้าสีดา กระเช้าถุงทอง กระเช้าผีมด ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวอ่อน ด้านสันหลังมีแถบสีเหลืองเข้ม สามารถขยับปล้องท้องให้สีกันจนเกิดเสียงได้เมื่อถูกรบกวน ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 3 สัปดาห์
  • ตัวเต็มวัย เป็นผีเสื้อขนาดใหญ่ ขนาดกางปีกเต็มที่ 10 – 14 ซม.โดยผีเสื้อเพศผู้มีขนาดเล็กกว่าเพศเมีย ปีกคู่หน้าทั้งสองเพศมีสีดำ มีเส้นสีขาวขนาบเส้นปีก ส่วนปีกคู่หลังของเพศผู้สีเหลืองทอง ขอบปีกมีจุดสามเหลี่ยมสีดำเรียงต่อกัน เหนือจุดสามเหลี่ยมมีจุดเล็ก ๆสีเทากระจายครอบอยู่ ขณะที่เพศเมียมีจุดสามเหลี่ยมเรียงต่อกันอีก อายุตัวเต็มวัย 35-50 วัน

Wingspan 100-140 mm. Similar to T. helenus but HW with black dusting on the inner edges of marginal spots in spaces 2, 3 sometimes in space 4 as well especially in male. Female, black submarginal spots not conjoined, but with black dusting in space 2 and 3 in thomsoni, black dusting not clearly present in aeacus, however, differs from female T. helena – f. eumagos by having white markings along the FW veins.


ผีเสื้อหางตุ้มจุดชมพู
The Common Rose
(Pachliopta aristolochiae)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว ๆ รูปร่างทรงกลมสีส้ม ระยะไข่ 3-5 วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีน้ำตาลอมชมพู มีแถบสีน้ำตาลอ่อนพาดทแยงด้านข้างของปล้องท้อง หนอนวัยแก่มีสีดำอมแดง บนลำตัวมีรยางค์ยื่นยาวคล้ายกับขนหรือหนาม พืชอาหารคือ ต้นกระเช้าสีดา กระเช้าถุงทอง กระเช้าผีมด ระยะหนอน 17-25 วัน
  • ดักแด้ มีสีน้ำตาลอ่อน ปล้องท้องด้านสันหลัง ยื่นยาวออกมาเป็นสันปล้องละ 2 อัน ซ้ายขวาดักแด้แขวนตัวติดกับกิ่งไม้หรือวัสดุ โดยเกาะทำมุม 45 องศากับวัสดุ ระยะดักแด้ประมาณ 15 วัน
  • ตัวเต็มวัย ส่วนหัว ส่วนอกและท้องมีสีชมพูเข้ม ปีกบน ปีกคู่หน้าพื้นปีกสีดำ กลางปีกคู่หลังมีแถบสีขาวและมีติ่งยื่นออกมาคล้ายหาง ปีกล่าง ขอบปีกคู่หลังมีจุดสีชมพูเรียงกัน ระยะตัวเต็มวัย 30-45 วัน

Wingspan 65-85 mm. UP is black, HW with five elongate white spots surrounding the cell. Similar to P. adamsoni but submarginal spots are darker, reddish black. Female is larger and slightly paler than the male. HW of subsp. asteris is narrower than that of goniopeltis especially the white spots at beyond the cell and sometimes spot in space 5 may be absent. Lfp: Aristolochiaceae


ผีเสื้อหางติ่งนางละเวง
The Great Mormon
(Papilio memnon)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเหลืองอ่อน ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อนลักษณะคล้ายขี้นก หนอนวัยแก่มีสีเขียวใบไม้ บริเวณส่วนท้องมีลาดสีน้ำตาลและขาวพาดทแยง พืชอาหาร คือ มะนาว หัสคุณ กำจัดต้น ระยะหนอน 20-25 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวเข้ม มักเข้าดักแด้ตามกิ่งไม้ที่แข็งแรงโดยห้อยตัวทำมุม 45 องศากับกิ่งไม้ สามารถขยับปล้องท้องให้สีกันจนเกิดเสียงได้เมื่อถูกรบกวน ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 19-21 วัน
  • ตัวเต็มวัย ผีเสื้อทั้งสองเพศมีพื้นปีกทั้งสองด้านสีดำ เพศผู้มีแต้มสีแดงบริเวณโคนปีกทั้งปีกบนและล่าง เพศผู้มีแบบเดียว เพศเมียมี 7 แบบ ปีกบน พื้นปีกสีดำ บางส่วนของปีกคู่หน้ามีสีออกเทาเล็กน้อย ปีกคู่หลังมีสีเหลือบน้ำเงิน ปีกล่าง พื้นปีกสีดำ โคนปีกมีแต้มสีแดง มุมปลายปีกหลังของปีกคู่หลังมีสีแดงและแต้มสีดำ และกลางปีกคู่หลังมีแถบสีขาวตามช่องเส้นปีก อายุตัวเต็มวัย 30-50 วัน

Wingspan 110-135 mm. Male is black and tailless. Female is polymorphic forms some with a tail some without tail.


ผีเสื้อหางติ่งชะอ้อน
The Yellow Helen
(Papilio helenus)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเหลืองอ่อน ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีน้ำตาลอ่อนลักษณะคล้ายขี้นก หนอนวัยแก่มีสีเขียวอมเหลือง มีลายกระสีน้ำตาลอ่อนกระจายทั่วตัว บริเวณส่วนท้องมีลาดสีน้ำตาลพาดทแยง พืชอาหารคือ เครืองูเห่า ส่องฟ้า หัสคุณ ระยะหนอน 20-25 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวเข้ม บางตัวมีสีน้ำตาลมักเข้าดักแด้ตามกิ่งไม้ที่แข็งแรงโดยห้อยตัวทำมุม 45 องศากับกิ่งไม้ สามารถขยับปล้องท้องให้สีกันจนเกิดเสียงได้เมื่อถูกรบกวน ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 19-21 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกและลำตัวสีดำ ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังมีติ่งยื่นคล้ายหยดน้ำ ปีกบน ปีกคู่หลังของชนิดนี้มีแต้มสีเหลืองที่ขอบปีกด้านข้าง บริเวณกลางปีกมีแถบสีขาว 4 แถบ มีแต้มรูปจันทร์เสี้ยวสีขาวครีมเรียงตามแนวขอบปีก อายุตัวเต็มวัย 30-50 วัน

Wingspan 100-125 mm. Another black and white Helen, UpH bears a creamy-white discal patch of four or five spot in spaces 3 or 4 to 7. Subsp. chaon UpF lacks of white markings while annulus with pale subapical markings and sunatus usually with an oblique white subapical band, UpH spot in space 3 usually absent in chaon, rather small in annulus and large in sunatus.


ผีเสื้อหางติ่งธรรมดา
The Common Mormon
(Papilio polytes)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเหลืองเข้ม ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแก่เกือบดำลักษณะคล้ายขี้นก หนอนวัยแก่มีสีเขียวใบไม้ บริเวณส่วนท้องมีลาดสีน้ำตาลและขาวพาดทแยง พืชอาหารคือ มะนาว ส้ม มะกรูด ระยะหนอน 20-25 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวเข้ม มักเข้าดักแด้ตามกิ่งไม้ที่แข็งแรงโดยห้อยตัวทำมุม 45 องศากับกิ่งไม้ สามารถขยับปล้องท้องให้สีกันจนเกิดเสียงได้เมื่อถูกรบกวน ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 19-21 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกปกคลุมด้วยเกล็ดสีดำ ตั้งแต่กลางปีกบนถึงขอบปีกด้านนอกสีดำเทา ปีกคู่ล่างประดับด้วยจุดแต้มสีขาวกลางปีกข้างละ 5 แต้ม แต้มสีแดงอมชมพูขนาดใหญ่อยู่ติดกับแต้มสีขาวด้านขอบปีกด้านใน และแต้มสีแดงอมชมพูอยู่เหนือติ่งยื่นไปด้านล่างข้างละ 2 แต้ม อายุตัวเต็มวัย 30-50 วัน

Wingspan 70-85 mm. Male, UP is black with a series of small white marginal spots on both wings, HW with a series of long white discal band. The female f. polytes Linnaeus, 1758, mimics P. aristolochiae, but differs in having discal spot in spaces lb pinkish, which is white in the latter. The other black female form, f. cyrus Fabricius, 1793 mimics its male, usually occurs in the peninsular Thailand. It differs from the male in having more elongate FW and tails, UpH a faint red tornal spot in space 1b is more prominent, may be absent in the male.


ผีเสื้อหนอนจำปีธรรมดา
The Tailed Jay
(Graphium agamemnon)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเหลืองเข้ม ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ตัวหนอนวัยอ่อนมีสีน้ำตาลแก่เกือบดำลักษณะคล้ายขี้นก หนอนวัยแก่มีสีเขียวใบไม้ บริเวณส่วนท้องมีลาดสีน้ำตาลและขาวพาดทแยง พืชอาหารคือ มะนาว ส้ม มะกรูด ระยะหนอน 20-25 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวเข้ม มักเข้าดักแด้ตามกิ่งไม้ที่แข็งแรงโดยห้อยตัวทำมุม 45 องศากับกิ่งไม้ สามารถขยับปล้องท้องให้สีกันจนเกิดเสียงได้เมื่อถูกรบกวน ระยะดักแด้ใช้เวลาประมาณ 19-21 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกปกคลุมด้วยเกล็ดสีดำ ตั้งแต่กลางปีกบนถึงขอบปีกด้านนอกสีดำเทา ปีกคู่ล่างประดับด้วยจุดแต้มสีขาวกลางปีกข้างละ 5 แต้ม แต้มสีแดงอมชมพูขนาดใหญ่อยู่ติดกับแต้มสีขาวด้านขอบปีกด้านใน และแต้มสีแดงอมชมพูอยู่เหนือติ่งยื่นไปด้านล่างข้างละ 2 แต้ม อายุตัวเต็มวัย 30-50 วัน

Wingspan 60-70 mm. The largest green and black colored Jay, UpF bears a double series of cell spots, HW with a rather short tail in the male, but longer in the female.


ผีเสื้อหนอนมะพร้าว
The Common Palmfly
(Elymnias hypermnestra)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเหลืองเข้ม ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวสีเขียวเข้มมีเส้นสีเหลืองพาดยาวตามแนวลำตัวด้านบน 1 คู่ หัวมีสีน้ำตาล มีเขาสีน้ำตาล 2 เขา ท้ายมีหางสีน้ำตาล 2 แฉก พืชอาหารคือ หมาก ปาล์ม มะพร้าว ระยะหนอน 20-23 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวลายจุด สีเหลือง ยึดส่วนปลายเพียงจุดเดียว ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชแล้วห้อยหัวลงมาคล้ายตุ้มหู ระยะดักแด้ 14-20 วัน
  • ตัวเต็มวัย เพศเมียมีแถบและแต้มสีขาวแตกต่างกันเล็กน้อย ปีกบนของเพศผู้มีพื้นปีกสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ปลายปีกหน้าของปีกคู่หน้ามีสีน้ำเงินวาว ขอบปีกด้านข้างของปีกคู่หลังมีสีน้ำตาลแดง เพศเมีย พื้นปีกสีน้ำตาลแดง มีแถบสีขาวพาดขวางบริเวณใกล้มุมปลายปีกหน้าของปีกคู่หน้า ขอบปีกด้านข้างของปีกทั้งสองคู่มีจุดแต้มสีขาวเรียงกัน ปีกล่างทั้งสองเพศคล้ายกัน พื้นปีกสีน้ำตาลมีลายกระทั่วแผ่นปีก มุมปลายปีกหน้าของปีกคู่หน้ามีสีขาวจางๆ เป็นรูปสามเหลี่ยมมุมฉาก วางไข่เป็นฟองเดี่ยว ทั้งบนและใต้ใบ อายุตัวเต็มวัย 30-50 วัน

Wingspan 50-70 mm. The most common species of the genus, male is monomorphic whereas female is dimorphic and very much vary geographically. Male, UP dark brown suffused with blue and with pale submarginal blue band and many blue spots on FW, HW reddish brown with pale postdiscal spots; UN rich mottled brown. Female, UP is orange brown, dark brown at borders of both wings, with whitish subapical band on FW and a series of long submarginal white spots on HW.


ผีเสื้อช่างร่อน
The Clipper
(Parthenos sylvia)

  • ไข่ เป็นฟองเดี่ยว รูปร่างทรงครึ่งวงกลมสีเทา พื้นผิวมีขนหรือหนามขนาดเล็กปกคลุม ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวสีเขียว มีหนามรูปเข็ม แตกเป็นกิ่งปลายเป็นแฉก หนอนระยะถัดไป ลำตัวเป็นปล้องๆ สีน้ำตาล ลักษณะรูปทรงกระบอก หนามสีน้ำตาลรูปเข็มแตกเป็นกิ่งปลายเป็นแฉก มีแถบสีส้มพาดกลางลำตัว จากหัวถึงท้าย พืชอาหารคือ ชิงช้าชาลี ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวไม่มีลวดลายบางครั้งพบสีน้ำตาลอมเหลือง ใช้ใยยึดส่วนท้ายของลำตัวติดกับพืชแล้วห้อยหัวลง ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย พื้นปีกสีเขียวขี้ม้า มีเส้นและลวดลายสีดำทั่วทั้งปีก กลางปีกคู่หน้ามีแต้มสีขาวอมเขียวเรียงกัน ขอบปีกด้านในของปีกคู่หน้าและกลางปีกคู่หลังมีสีฟ้าจางๆ ปีกล่างพื้นปีกมีสีขาวขุ่น มีลายแถบสีขาวคล้ายปีกบน อายุตัวเต็มวัย 30-50 วัน

Wingspan 48-75 mm. Sexes similar, but female much larger, HW with a weak dentate at vein 4 and rather crenulated at margin of both wings. UP green or blue-green with black and white markings, subspecies lilacinus usually smaller and more blue than green at basal halves whereas those of gambrisius usually green, FW with white hyaline discal spots and HW with two large white costal spots in spaces 6 and 7.


ผีเสื้อปีกไข่ใหญ่
The Great Eggfly
(Hypolimnas bolina)

  • ไข่ เป็นกลุ่ม รูปร่างทรงกลมสีเขียวอมเทา มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวรูปทรงกระบอกสีดำเข้ม หัวมีสีส้ม และมีหนามแตกเป็นแฉกเล็กๆ สีส้มตลอดลำตัว พืชอาหารคือ บุษบาฮาวาย มันเทศ ผักบุ้ง ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีน้ำตาลอมดำมีลวดลายคล้ายเปลือกไม้ ส่วนท้องด้านหลังมีหนามสั้นๆ ทุกปล้อง
    เข้าดักแด้โดยใช้ใยติดกับวัสดุหรือกิ่งไม้และห้อยตัวในลักษณะห้อยหัวลง ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย และมีลวดลายแตกต่างกัน ปีกบนของเพศผู้คล้ายเพศผู้ของผีเสื้อปีกไข่เมียเลียน แต่แต้มสีขาวมีขนาดเล็กและสีจางกว่า เพศเมียมีพื้นปีกสีน้ำตาลเข้ม กลางปีกคู่หน้ามีสีน้ำเงินจางๆ ขอบปีกด้านข้างของปีกทั้งสองคู่หยักเว้า มีแต้ม จุดและขลิบสีขาว ปีกล่าง พื้นปีกสีน้ำตาล ขอบปีกด้านข้างของปีกทั้งสองคู่มีแถบสีขาว ต่อจากแถบเข้ามามีจุดสีขาวเรียงกัน ระยะตัวเต็มวัย 30-40 วัน

Wingspan 50-85 mm. Male, UP dark brown to black, marked with white similar to the male of H. misippus, but UnH without a black costal spot in space 7. Female is larger and tinted with iridescent blue, usually with white submarginal markings and marginal lunules on both wings. It is a variable species with a big range of lfp. The two subspecies have migratory tendencies. They are capable of interbreeding, and produce a range of hybrids which do not fit into either subspecies (Piratana and Eliot, 1996). Subsp. bolina differes from jacintha in absent of postdiscal white dots in male while in female postdiscal spots and submarginal fasciae are very much reduced on both wings, female of bolina, f. nerina has been found in Thailand, FW with an orange discal patch in spaces of la, 1b and a little bit of space 2, HW edging with pale white and a broad discal white patch.


ผีเสื้อจรกาหนอนยี่โถ
The Common Crow
(Euploea core)

  • ไข่ เป็นกลุ่ม รูปร่างทรงกระบอกเรียว มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ หนอนรูปร่างเรียวยาว ส่วนหัวมีขนาดค่อนข้างใหญ่มีลายสลับดำขาว ผิวลำตัวสีน้ำตาลดำ และมีรยางค์สีน้ำตาลเข้มและที่ฐานเป็นสีแดง 6 อันบริเวณปล้องอกปล้องที่ 2 ปล้องท้องปล้องที่2 และปล้องที่ 7 ที่ด้านสันหลังมีจุดสีขาวสลับเหลืองเรียงตัวตามความยาวของลำตัวจำนวน 2 แถว และจุดสีเหลืองเรียงตัวตามความยาวด้านข้างลำตัวข้างละ 1 แถว มีขาเทียมจำนวน 5 คู่ที่ปล้องท้องปล้องที่ 3-6 และปล้องที่ 9 พืชอาหารคือ มะเดื่ออุทุมพร ไทร ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ สั้นป้อม มีสีทองแวววาว เข้าดักแด้โดยใช้ใยติดกับวัสดุหรือกิ่งไม้และห้อยตัวในลักษณะห้อยหัวลง ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกสีน้ำตาลแดงเข้ม โคนปีกมีสีเข้มเกือบดำ ปลายปีกหน้าเคลือบด้วยเกล็ดสีขาว ขอบปีกคู่ล่างประดับด้วยจุดสีขาวเรียงต่อกัน 2 แถว ลำตัวสีน้ำตาลดำ ระยะตัวเต็มวัย 30-40 วัน

Wingspan 75-85 mm. The most common species amongst the crows, medium size, brown with white markings. Male has a narrow pale brown brand in mid-space lb on UpF. There are two subspecies, godartii and graminifera, the former with grayish-white diffuse at apical one-third of FW, the later with large submarginal spots in spaces 2-5, that in 5 the largest and three subapical spots in spaces 6-8. Subsp. godartii has a form, f. layardi H.H. Druce, 1874, which used to place as another subspecies, all the submarginal and subapical spots are more or less the same as in graminifera but smaller, apical FW usually slightly diffuse with white especially in the female.


ผีเสื้อแพนซีมยุรา
The Peacock Pansy
(Junonia almana)

  • ไข่ เป็นไข่เดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเทา มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวสีดำ และหนามเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรอบลำตัว มีจุดและแถบสีขาวพาดขวางสลับกับสีดำของลำตัว หนามแตกเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อนพืชอาหารคือ ต้อยติ่ง ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีน้ำตาลอมดำมีลวดลายคล้ายเปลือกไม้ เข้าดักแด้โดยใช้ใยติดกับวัสดุหรือกิ่งไม้และห้อยตัวในลักษณะห้อยหัวลง ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย พื้นปีกสีส้ม มีจุดวงกลมที่ปีกคู่หน้า 1 จุด ปีกคู่หลัง 2 จุด จุดที่อยู่ทางด้านมุมปลายปีกหลังมีขนาดเล็กกว่า ในบางฤดูจุดนี้อาจมองไม่เห็นไม่ชัด ขอบปีกด้านนอกของปีกคู่หน้ามีแถบสีน้ำตาลเข้ม 4 แถบ ขอบปีกด้านข้างมีเส้นสีน้ำตาลเข้ม ปีกล่างคล้ายปีกบนแต่สีอ่อนกว่า และเห็นลวดลายจางๆระยะตัวเต็มวัย 35-45 วัน

Wingspan 40-55 mm. Orange with dark brown markings, FW with small postdiscal ocelli in spaces 2 and 5, HW with two ocelli, a small one in space 2 and a very large one in spaces 4-6. Subsp. javana is usually smaller than in almana and the dsf. is weakly developed.


ผีเสื้อแพนซีสีตาล
The Lemon Pansy
(Junonia lemonias)

  • ไข่ เป็นไข่เดี่ยว รูปร่างทรงกลมสีเทา มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 3-5วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวสีดำ และหนามเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลดำ เรียงเป็นวงรอบลำตัว ไม่มีแถบสีขาวพาดขวาง หนามแตกเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลอ่อนพืชอาหารคือ ต้อยติ่ง ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีน้ำตาลอมดำมีลวดลายคล้ายเปลือกไม้ เข้าดักแด้โดยใช้ใยติดกับวัสดุหรือกิ่งไม้และห้อยตัวในลักษณะห้อยหัวลง ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกสีน้ำตาลเข้ม ปีกคู่บนประดับด้วยจุดแต้มสีเหลือง กระจายอยู่บริเวณกลางถึงขอบปีกด้านนอก ใกล้กับมุมขอบปีกด้านล่างประดับด้วยจุดกลมสีส้มล้อมรอบจุดสีดำข้างละ 1 จุด ปีกคู่ล่างประดับด้วยจุดกลมสีส้มล้อมรอบจุดสีดำข้างละ 1 จุด ด้านล่างของปีกปกคลุมด้วยเกล็ดสีน้ำตาลอมเหลือง ระยะตัวเต็มวัย 35-45 วัน

Wingspan 40-55 mm. UP chocolate brown with pale yellow spots, two prominent large ocelli in space 2 of FW and space 5 of HW, also small ocelli in space 5 of FW and space 2 of HW, HW weakly dentated at vein 4.


ผีเสื้อใบไม้ใหญ่อินเดีย
The Indian Oakleaf
(Kallima inachus)

  • ไข่ เป็นไข่เดี่ยว รูปร่างทรงกลมรีสีเขียวเทา ด้านข้างไข่มีสันเรียงตัวตามแนวรัศมี มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 3-7 วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวสีดำ มีขนสีเทาขนาดเล็ก และหนามเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลอมเหลืองในวัยอ่อน และเปลี่ยนเป็นสีแดงส้มในหนอนวัยแก่ เรียงเป็นวงรอบลำตัว พืชอาหารคือ ขาไก่ไทย พวงหยก ถุงน้อยพลอยแดง ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีน้ำตาลอมดำมีลวดลายคล้ายเปลือกไม้ ส่วนท้องด้านหลังมีหนามสั้นๆ ทุกปล้องเข้าดักแด้โดยใช้ใยติดกับวัสดุหรือกิ่งไม้และห้อยตัวในลักษณะห้อยหัวลง ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกด้านล่างคล้ายใบไม้แห้ง จึงสามารถพรางตัวในธรรมชาติได้เป็นอย่างดี ปีกส่วนบนจะเป็นสีน้ำเงิน ปลายปีกมีสีดำพาดด้วยสีส้มเหลืองระหว่างกลาง ปีกล่างมีสีน้ำตาล ลักษณะจะเหมือนใบไม้แห้ง ระยะตัวเต็มวัย 35-45 วัน

Wingspan 60-80 mm. Wing shape is similar to D. bisaltide but larger and sharply pointed at apex. Female with FW apex strongly produced into a sharp point than in the male, UP orange brown tinted with blue on lower FW and HW, FW with a large oblique orange band, a white sub-costal spot near apex and a white-centered black discal spot in space 2 of FW; UN markings variable, resembling dead leaf with dark veins.


ผีเสื้อหนอนละหุ่ง
The Common Castor
(Ariadne merione)

  • ไข่ เป็นไข่เดี่ยว รูปร่างทรงกลมรีสีเขียวเทา มีขนหรือหนามขนาดเล็กปกคลุมไข่ มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 3-7 วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวสีดำ มีหนามขนาดใหญ่เรียงตัวตามแนวรัศมีทุกปล้องลำตัว และหนามเป็นแฉกเล็กๆ สีน้ำตาลอมเหลือง ส่วนหัวมีเขาเป็นหนามสองอัน หนอนวัยแก่มีแถบสีขาวพาดกลางลำตัวตั้งแต่หัวจรดปลายท้อง พืชอาหารคือ ละหุ่ง ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ มีสีเขียวอมน้ำตาล ไม่มีลวดลาย เข้าดักแด้โดยใช้ใยติดกับวัสดุหรือกิ่งไม้และห้อยตัวในลักษณะตั้งฉากกับวัสดุหรือวางตัวในแนวขนานกับพื้นดิน ระยะดักแด้ 19-25 วัน
  • ตัวเต็มวัย ปีกสีน้ำตาลอมส้ม ประดับด้วยแถบแคบๆเป็นเส้นซิกแซกขวางทั้งปีกคู่บนและปีกคู่ล่าง ขอบปีกคู่บนติดกับส่วนอกประดับด้วยส่วนใสสีน้ำตาลข้างละ 1 แต้ม ปีกคู่ล่างของปีกสีน้ำตาล กลางปีกประดับด้วยแต้มเลือนขนาดใหญ่สีดำ ทั้งปีกคู่บนและปีกคู่ล่างประดับด้วยแถบสั้นๆ สีน้ำตาลเข้มตามแนวตั้ง ระยะตัวเต็มวัย 35-45 วัน

Wingspan 38-45 mm. Similar to A. ariadne, but UP with a double dark lines crossing the wing just beyond the cell. Subsp. tapestrina UN usually with paler background and with more prominent white sub-costal spot of FW than that in ginosa.


ผีเสื้อไหมป่าอีรี่
The Eri Silk Moth
(Samia cynthia ricini)

  • ไข่ เป็นกลุ่ม รูปร่างทรงกลมสีขาวอมเขียว มีขนาดเล็ก ระยะไข่ 7-15 วัน
  • หนอน มี 5 ระยะ ลำตัวส่วนหัวของไหมวัยอ่อนจะเป็นสีดำ ซึ่งจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองโดยมีบริเวณสีดำที่แก้มเมื่อเป็นหนอนวัยแก่ ตัวหนอนมีสีขาว ที่ปล้องอกและท้องแต่ละปล้องมีหนาม 4-6 อันเรียงเป็นแถว ในวัยสุดท้ายหนอนไหมจะกินอาหารมากและตัวโตขึ้นอย่างรวดเร็ว โตเต็มที่จะมีขนาดยาว 90-100 มิลลิเมตร ลำตัวจะเปลี่ยนจากสีขาวเป็นสีเหลืองเมื่อพร้อมจะเข้าดักแด้ พืชอาหารคือ ละหุ่ง มันสำปะหลัง ระยะหนอน 25-35 วัน
  • ดักแด้ เมื่อหนอนวัยสุดท้ายพร้อมเข้าดักแด้ ตัวจะมีสีเหลืองใส หดสั้น หนอนจะพ่นเส้นใยสีขาวออกจากปาก ทำเป็นรังห่อหุ้มตัวเอง ใช้เวลา 3-4 วัน ตัวหนอนเปลี่ยนเป็นดักแด้อยู่ในรัง ระยะดักแด้นาน 9-11 วัน
  • ตัวเต็มวัย เพศเมียมีขนาดใหญ่กว่าเพศผู้เล็กน้อย มีสีน้ำตาล มีแถบสีขาวพาดขวางตั้งแต่ปีกคู่หน้าถึงปีกคู่หลัง ปลายปีกโค้งคล้ายตะขอ ตัวเต็มวัยไม่กินอาหาร ระยะตัวเต็มวัย 10-20 วัน

ตั๊กแตนใบไม้เวสต์วูด
The Westwood Leaf-insect
(Phyllium westwoodii)

  • รูปร่างลักษณะ ตั๊กแตนใบไม้เวสต์วูดเป็นแมลงที่อยู่ในอันดับ Phasmatodea จัดว่าเป็นแมลงหายาก ลักษณะเด่นประการหนึ่งคือ เป็นแมลงที่ไม่ค่อยว่องไว มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด มีรูปร่างเหมือนใบไม้และลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ ด้านท้องมีสีเขียวเข้ม ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย แมลงกลุ่มนี้จึงมีความสำคัญในแง่ของการศึกษากระบวนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต ที่ใช้เทคนิคการพรางตัว เพื่อความอยู่รอด ดังนั้นตั๊กแตนใบไม้จึงเป็นตัวอย่างที่ดีในการศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม ในด้านการป้องกันตัว โดยใช้เทคนิคการพรางตัว
  • อาหาร ฝรั่ง มะม่วง ลำไย
  • ถิ่นอาศัย ประเทศไทย ลาว พบในป่าดิบที่ค่อนข้างสมบูรณ์

ตั๊กแตนใบไม้ยักษ์
The Giant Leaf-insect
(Phyllium giganteum)

  • รูปร่างลักษณะ ตั๊กแตนใบไม้ยักษ์มีขนาดใหญ่ที่สุดในกลุ่มตั๊กแตนใบไม้ จัดว่าเป็นแมลงหายาก มีการเคลื่อนที่ช้า และไม่กระโดด มีรูปร่างเหมือนใบไม้และลวดลายบนตัวที่เหมือนกับเส้นใบของใบไม้ มีจุดประและลวดลายสีขาวด้านท้อง ดูคล้ายใบไม้ที่มีไลเคนเกาะ ทำให้ดูกลมกลืนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่อยู่อาศัย ที่มุมปลายท้องทั้งสองข้างจะงองุ้มคล้ายตะขอ
  • อาหาร ฝรั่ง มะม่วง ลำไย
  • ถิ่นอาศัย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และบางเกาะในฟิลิปปินส์

ตั๊กแตนกิ่งไม้ยักษ์ป่าใต้
The Malayan Jungle Nymph
(Heteropteryx dilatata)

  • รูปร่างลักษณะ เป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ขนาดใหญ่มีสีเขียวตองอ่อน หรือสีเหลือง ปีกขนาดเล็กค่อนข้างสั้น ปีกคู่หลังเป็นสีชมพูสั้นเช่นกัน เพศผู้มีสีน้ำตาลเข้มอาจมีลวดลายสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน ปีกคู่หลังมีสีชมพู บินได้ มักเกาะหลบซ่อนในพุ่มไม้ทึบ และออกหากินในเวลากลางคืน เพศเมียตามขามีหนามขนาดใหญ่ สามารถงอหนีบศัตรูเมื่อถูกรบกวนได้ ปลายท้องเพศเมียมีอวัยวะวางไข่ปลายแหลม สามารถใช้ปล้องท้องสีกับส่วนของปีกทำให้เกิดเสียงเพื่อขู่ศัตรูได้
  • อาหาร ข่อยหนาม ฝรั่ง มะม่วง ลำไย
  • ถิ่นอาศัย ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย ในประเทศไทยพบเฉพาะป่าดิบชื้นทางภาคใต้

ตั๊กแตนกิ่งไม้ออสเตรเลีย
The Australian Giant Prickly Stick Insect
(Extatosoma tiaratum)

  • รูปร่างลักษณะ เป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ขนาดใหญ่มีสีน้ำตาลเข้มหรืออ่อน ปีกขนาดเล็กค่อนข้างสั้น เพศผู้มีสีน้ำตาลเข้มอาจมีลวดลายสีขาวหรือสีน้ำตาลอ่อน ปีกคู่หลังมีสีน้ำตาลปนชมพู บินได้ ตามลำตัวมีหนามสั้นๆกระจายทั่วตัว เมื่อเกาะมักงอส่วนท้องม้วนเข้าหาลำตัว
  • อาหาร ฝรั่ง ยูคาลิปตัส
  • ถิ่นอาศัย ประเทศออสเตรเลีย

ตั๊กแตนกิ่งไม้ใหญ่
The Magnus Stick Insect
(Phobaeticus magnus)

  • รูปร่างลักษณะ เป็นตั๊กแตนกิ่งไม้ขนาดใหญ่มีสีน้ำตาลเข้มหรืออ่อน เพศเมียไม่มีปีก แผ่นปิดรูที่ใช้ในการวางไข่ที่ปลายท้อง (operculum) ยืดยาวมากจนเลยส่วนท้อง เพศผู้มีสีน้ำตาล มีปีก 2 คู่ ปีกคู่หน้าลดรูปหดสั้น ปีกคู่หลังบางใหญ่สีน้ำตาลอ่อน บินได้ จัดเป็นตั๊กแตนที่ยาวที่สุดในประเทศไทย ขนาดตัวเต็มวัยเพศเมียอาจยาวได้ถึง 45 เซนติเมตร
  • อาหาร ฝรั่ง มะม่วง และลำไย
  • ถิ่นอาศัย พม่า ลาว ในประเทศไทยพบตามป่าโปร่งโดยเฉพาะภาคเหนือและภาคอิสาน

อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ -> เอ็มโพเรียม – เอ็มควอเทียร์ อิน วันเดอร์แลนด์ ซูแวนเจอร์